ทบทวนความรู้เซต ม.4-6

  เนื้อหาสำหรับการทบทวนความรู้เรื่องเซต ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ม.4-5-6 ประกอบด้วย 

  1. เซต
  2. เอกภพสัมพันธ์
  3. สับเซตและเพาเวอร์เซต
  4. การดำเนินการของเซต ได้แก่ ยูเนียน อินเตอร์เซกซัน และคอมพลีเมนต์เทชั่นของเซต 

บทนิยามเซต: กลุ่มของข้อมูลที่เรากล่าวถึง เช่น เซตของนักเรียนในห้อง เซตของร้านค้าในโรงเรียน เซตของวันในสัปดาห์ เป็นต้น 

วิธีการเขียนสมาชิกของเซต : เขียนในเครื่องหมายวงเล็บปีกกา เช่น A={1,2,3} อ่านว่า เซต A เป็นเซตของจำนวนนับ มีสมาชิก 3 ตัว ได้แก่ 1,2,และ 3 

การเขียนเซตไม่จำกัด หรือเซตอนันต์ เช่น B={1,2,3,...} เซต B คือเซตของจำนวนนับ ซึ่งเริ่มต้นนับจาก 1,2,3,... และจุด 3 จุด แสดงถึงความต่อเนื่องไปไม่สิ้นสุด เพราะจำนวนนับสุดท้าย คืออะไร ? ∞ อินฟินิตี้ 

การเขียนเซตแบบบอกเงื่อนไข เช่น B={x| อ่านว่า B คือเซตของ x โดยที่เป็นจำนวนจริง และ x+1=x} จะได้ว่า B={} เซตว่าง 

เซตมักกล่าวอ้างอิงถึงจำนวน

จำนวนเต็มบวก 1,2,3,...

จำนวนเต็มลบ -1,-2,-3,...

จำนวนเต็ม -1,0,1,2,...

จำนวนนับ 1,2,3,... 


การเท่ากันของเซต 

A={1,2,3,4}

B={4,3,2,1}

จะได้ว่าเซต A=B เพราะเซต A มีสมาชิกเหมือนเซต B และ B ก็มีสมาชิกเหมือน A 

การไม่เท่ากันของเซต 

A={1,2,3}

B={1,2,3,4}

A ไม่เท่ากับ B เพราะ เซต B มีสมาชิกเป็นเลข 4 แต่ A ไม่มี 

เอกภพสัมพัทธ์ (Relative Universe)

นิยาม เมื่อเขียนเซตแบบบอกเงื่อนไขสมาชิก  จะต้องกำหนดของเขตของสมาชิกขึ้นมาเรียกว่า เอกภพสัมพัทธ์ (Relative Universe) เขียนแทนด้วย (U)

กำหนดให้ U เซตของจำนวนจริง 

A={x|x^2=4} 

อ่านว่า A เป็นเซตที่มีสมาชิกคือ x |โดยที่ x ยกกำลังสองเท่ากับ 4

A={-2,2}

1.3.สับเซต และเพาเวอร์เซต 

ให้ A={7,8} และ B={1,2,3,7,8}

เซต A เป็นสับเซต B เพราะสมาชิกทุกตัวของ A เป็นสมาชิกของ B เขียนแทนด้วย A⊂B 

แต่ B⊄A 

สับเซต หรือเซตย่อยของเซต 

A={1,2,3}

สับเซต A มีจำนวน 8 ตัวดังนี้ {1},{2},{3},{1,2},{1,3},{2,3},{1,2,3},Ø

ข้อสังเกตุ

เซตทุกเซตเป็นสับเซตของตนเอง 

เซตว่างเป็นสับเซตของทุกเซต

การเขียนเพาเวอร์เซต 

เซตของสับเซตทั้งหมดของเซต A คือเพาเวอร์เซตของเซต A เขียนแทนด้วย P(A) ยกตัวอย่าง เช่น 

A={1,2,3} 

สับเซตของ A คือ {1},{2},{3},{1,2},{1,3},{2,3},{1,2,3},Ø

P(A)= {{1},{2},{3},{1,2},{1,3},{2,3},{1,2,3},Ø}

ใส่เพิ่มวงเล็บปีกกา {} หัวท้าย 

การดำเนินการของเซต  (Set Operations)

ยูเนียน (Union)

กำหนดเซต A={2,3,4} และเซต B={3,4,8,9}

A U B={2,3,4,8,9} เอาสมาชิกทุกตัวของเซต A และ B (ถ้ามีตัวซ้ำกันเอามาตัวเดียว)

อินเตอร์เซกซัน (Intersection) 

A ⋂ B={3,4} เอาเฉพาะตัวที่ซ้ำกัน

คอมพลีเมนต์ (Complement) 

กำหนดเอกภพสัมพัทธ์ U={0,1,2,3,4,5} และ A={0,2}

A' = {1,3,4,5} ไม่เอาสมาชิกของเซต A 

ผลต่างระหว่างเซต (Differene of set) 

ให้ A={0,1,2,3,4} และ B={3,4,5,6,7}

A-B={0,1,2} เอาสมาชิก A แต่ไม่เอาสมาชิก B

สลับกัน 

B-A={5,6,7} เอาเฉพาะสมาชิกของ B 

แผนภาพของเวนน์-ออยเลอร์ 



Post a Comment

ใหม่กว่า เก่ากว่า