ขั้นแรกสุดของการทบทวน ชนิดของคำในภาษาไทย เราควรจะทราบว่า การแบ่งชนิดของคำในหลักภาษาไทยออกเป็น 7 ชนิดด้วยกัน คือ
- คำนาม
- คำสรรพนาม
- คำกริยา
- คำวิเศษณ์ (ขยายนามและขยายกริยา)
- คำบุพบท
- คำสันธาน
- คำอุทาน
คำนาม:
หมายถึง คน สัตว์ สิ่งของ สถานที่ และรวมถึง นามธรรม (ความคิด ความฝัน ความรัก ฯลฯ)
หน้าที่ของคำนาม : ใช้เป็นประธานและเป็นกรรมของประโยค เช่น คนกินข้าว น้องดูทีวี ทอมตีเทนนิส เป็นต้น
สีแดง คำนามทำหน้าที่ประธานของประโยค
สีน้ำเงิน คำนามทำหน้าที่กรรม (ผู้ถูกกระทำ)
คำสรรพนาม :
คือคำที่ใช้แทนคำนาม แบ่งเป็น
บุรุษที่ 1 : ผม ฉัน ดิฉัน พวกเรา (แทนตัวผู้พูด)
บุรุษที่ 2: คุณ ท่าน พวกคุณ (แทนคนที่เราพูดด้วย)
บุรุษที่ 3 : ท่าน เขา เธอ มัน พวกเขา พวกมัน (แทนคนที่เรากล่าวถึง)
ครูเดชาเป็นครูสอนภาษาไทยที่โรงเรียนวัดลิงขบ อ.ชนบท จ.นาบุก ครูเดชาอายุ 35 ปี ครูเดชาแต่งงานกับครูไพลินซึ่งสอนวิชาภาษาไทยอยู่ที่โรงเรียนเดียวกัน ครูเดชาพบรักกับครูไพลินตั้งแต่เรียนมัธยมด้วยกัน ครูเดชาเป็นครูที่ตั้งใจสอนนักเรียนมากๆ ครูเดชา ครูเดชา ๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ
เราสามารถใช้คำสรรพนาม เพื่อแทนที่คำนามที่เป็นชื่อเฉพาะของครูเดชา ด้วยคำว่า "เขา" เพื่อเลี่ยงการกล่าวถึงคำนามเดิมซ้ำๆ
คำกริยา
คือคำที่แสดงการกระทำ การเคลื่อนที่ การเคลื่อนไหว เช่น กิน นอน เดิน นั่ง ไหว้ เรียน เขียน อ่าน ดู ทำ ล้าง ฯลฯ
สกรรมกริยา คือกริยาที่ต้องมีกรรมมารองรับ ประโยคจึงจะสมบูรณ์ เช่น แม่ตีน้อง ฉันชอบอ่านหนังสือภาษาไทย ฉันเห็นคนเดินมาสองคน
อกรรมกริยา กริยาที่ไม่ต้องมีกรรมมารองรับ เช่น ฉันนั่ง ฉันเดิน ฉันนอน ฉันว่ายน้ำ ฉันกระโดด ฉันบิน ฉัน
คำวิเศษณ์
คำกริยาวิเศษณ์ขยายกริยา เช่น เร็ว ช้า จุ เพราะ ดี สวย มูมมาม มีความสุข ฯลฯ ยกตัวอย่าง เช่น
เขาวิ่งไวมาก เธอเดินช้า น้องกินจุมาก เขาทำดีมาก พวกเขากินมูมมามมาก พ่อยิ้มอย่างมีความสุข
คำนามวิเศษณ์ ทำหน้าที่ขยายคำนาม เช่น สวย รวย จน สูง ต่ำ ดำ เตี้ย กว้าง แคบ เล็ก ใหญ่ ฯลฯ
ยกตัวอย่างใช้งานแต่งประโยค เช่น สมบัติเป็นคนจน เขาซื้อบ้านหลังใหญ่มาก ฉันไม่ชอบบ้านหลังเล็ก
แม่น้ำเจ้าพระยากว้างมาก คลองนี้ลึกจริงๆ เป็นต้น
คำบุพบท
คำบุพบท : ระบุตำแหน่งของคำนาม เช่น แมวอยู่ในบ้าน หนูอยู่บนหลังคา กิ้งก่าอยู่นอกบ้าน กบอยู่ข้างใต้ใบบัว เขาอยู่ที่โรงเรียน
คำบุพบทที่ระบุเวลา เช่น เขามาถึงตอนเช้า เธอนอนตื่นสาย สมชายชอบวิ่งตอนเย็น ราตรีชอบอ่านหนังสือตอนดึก
คำสันธาน
คำที่ใช้เชื่อมประโยคเข้าด้วยกัน แยกได้ 4 ลักษณะ ดังนี้
คล้อยตามกันเช่น พ่อและแม่ไปตลาดเช้าด้วยกัน
ขัดแย้งกัน เช่น น้องอ่านหนังสือแต่พี่ดูทีวี
ให้เลือก เช่น เธอจะอยู่บ้านหรือไปข้างนอก
เป็นเหตุเป็นผลต่อกัน เช่น เพราะเขาขยันเรียนจึงสอบได้ที่หนึ่ง
คำอุทาน
คำที่พูดหรือเปล่งออกมาโดยไม่ตั้งใจ เมื่อตกใจ โกรธ โมโห หรือประทับใจ เช่น โอ้ย ว๊าว โว้ย ฯลฯ
เอาละ เมื่ออ่านจบและเข้าใจเนื้อหาแล้ว ขั้นตอนต่อไป อย่าลืมไปฝึกทำแบบฝึกหัด
ฝึกทำแบบฝึกหัดท้ายบท 10 ข้อ
ฝากติดตาม Part2 และ อย่าลืมคอมเม้นต์ ข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะ ข้อสอบถามจากผู่อ่านด้วย
แสดงความคิดเห็น