กรอบความรู้ที่สำคัญและจำเป็นต้องทบทวน เพื่อใช้ในการสอบ
ตรรกศาสตร์ คืออะไร
ประพจน์ คืออะไร
ตัวเชื่อมประพจน์
ตารางค่าความจริงของตัวเชื่อม
ตัวอย่างประพจน์ที่สมมูลกันที่ควรรู้
ตัวบ่งปริมาณ (∀,∃)
การอ้างเหตุผล
ประพจน์ คืออะไร
ตัวเชื่อมประพจน์
ตารางค่าความจริงของตัวเชื่อม
ตัวอย่างประพจน์ที่สมมูลกันที่ควรรู้
ตัวบ่งปริมาณ (∀,∃)
การอ้างเหตุผล
ตรรกศาสตร์ คืออะไร
ตรรกศาสตร์ คือ วิชาที่ว่าด้วยกฎเกณฑ์และเหตุผล การได้มาของผลภายใต้กฎเกณฑ์ที่กำหนดถือเป็นสาระสำคัญ ข้อความหรือการให้เหตุผลในชีวิตประจำวันสามารถสร้างเป็นรูปแบบที่ชัดเจนจน ใช้ประโยชน์ในการสรุปความ ความสมเหตุสมผลเป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวาง ตรรกศาสตร์เป็นแม่บทของคณิตศาสตร์แขนงต่าง ๆ และการประยุกต์
ประพจน์ คืออะไร
ประพจน์ คือ ประโยคที่มีค่าความจริง เป็นจริงหรือเท็จ อย่างใดอย่างหนึ่ง โดยประโยคที่เป็นประพจน์ จะมีลักษณะเป็นประโยคบอกเล่าหรือปฏิเสธ
ประโยคที่ไม่เป็นประพจน์ จะมีลักษณะเป็นประโยคคำถาม คำสัง ขอร้อง และประโยคอุทาน
ประโยคที่มีค่าความจริงไม่แน่นอน หรือไม่อาจระบุได้ว่ามีค่าความจริงว่าเป็นจริงหรือเท็จได้ จะไม่เป็นประพจน์
ตารางค่าความจริงของประพจน์
“สมมูล” แทนด้วยสัญลักษณ์ “≡” แปลว่า “มีค่าความจริงเหมือนกัน”
เราจะใช้เครื่องหมาย “≡” กับประพจน์ คล้ายๆกับที่เราใช้เครื่องหมาย “=”
เช่น “𝑝 เป็นจริง” จะแทนด้วยสัญลักษณ์ 𝑝 ≡ T
“𝑞 เป็นเท็จ” จะแทนด้วยสัญลักษณ์ 𝑞 ≡ F
“𝑝 มีค่าความจริงเหมือน 𝑞” จะแทนด้วยสัญลักษณ์ 𝑝 ≡ q
อย่าลืมทำแบบฝึกหัดท้ายบทครับ แบบฝึกหัดทบทวนพื้นฐานตรรกศาสตร์ Logic
แสดงความคิดเห็น