พลังงาน
พลังงาน (Energy) เป็นสิ่งที่ไม่มีตัวตน ไม่มีน้ำหนัก จับต้องไม่ได้ มองไม่เห็น เป็นอำนาจที่แฝงอยู่ในวัตถุและสามารถทำงานได้
พลังงานเป็นปริมาณที่บอกถึง ความสามารถในการทำงาน มีหน่วยเป็น จูล และเป็นปริมาณสเกลาร์ พลังงานส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น เช่นเปลี่ยนสภาพการเคลื่อนที่ เปลี่ยนเป็นพลังงานรูปอื่น เปลี่ยนสถานะ เป็นต้น
พลังงานมีหลายชนิด เช่น พลังงานจลน์ พลังงานศักดิ์ พลังงานเคมี พลังงานความร้อน พลังงานเสียง พลังงานแสง พลังงานไฟฟ้า พลังงานนิวเคลียร์
แหล่งของพลังงานส่วนใหญ่มาจากพลังงานที่แผ่จากดวงอาทิตย์มายังโลก
ในการศึกษาวิชากลศาสตร์จะศึกษาพลังงาน 2 ประเภทคือ พลังงานจลน์ คือพลังานในวัตถุที่กำลังเคลื่อนที่หรือมีความเร็ว และพลังงานศักดิ์ คือพลังงานของวัตถุที่ขึ้นอยู่กับตำแหน่งหรือสภาวะของวัตถุ เช่นพลังงานของวัตถุเมื่อยู่ที่สูง
ผลรวมของพลังงานจลน์และพลังงานศักดิ์เรียกว่า พลังงานกล
พลังงานจลน์ (Kinetic Energy)
พลัลงานจลน์ เป็นพลังงานของวัตถุเนื่องจากการเคลื่อนที่ของวัตถุ ซึ่งเคลื่อนที่ทั้งแนวระดับและแนวดิ่ง อาทิเช่น พลังงานจลน์จากการสั่น จากการหมุน การเปลี่ยนตำแหน่ง ในบทนี้จะกล่าวถึงเฉพาะพลังงานจลน์จากการเปลี่ยนตำแหน่ง มีหน่วยเป็นจูล
พลังงานจลน์ของวัตถุขึ้นอยู่กับสองตัวแปร คือ มวล (M) และความเร็ว (V) ของวัตถุ การคำนวณหาพลังงานจลน์ของวัตถุนั้น หาได้จาก สมการการเคลื่อนที่ของวัตถุซึ่งเคลื่อนที่แบบมีความเร่ง โดยมีแรงภายนอกมากระทำกับวัตถุ
ตัวอย่าง กล่องมวล 0.6 กิโลกรัม วางอยู่บนพื้นซึ่งไร้แรงเสียดทาน เมื่อกล่องถูกแรงขนาดคงที่ 12 นิวตัน ดึงให้เคลื่อนที่ไปตามพื้นราบ จงหาพลังงานจลน์ของกล่อง เมื่อกล่องเคลื่อนที่ได้ 3 เมตร
พลังงาน (Energy) เป็นสิ่งที่ไม่มีตัวตน ไม่มีน้ำหนัก จับต้องไม่ได้ มองไม่เห็น เป็นอำนาจที่แฝงอยู่ในวัตถุและสามารถทำงานได้
พลังงานเป็นปริมาณที่บอกถึง ความสามารถในการทำงาน มีหน่วยเป็น จูล และเป็นปริมาณสเกลาร์ พลังงานส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น เช่นเปลี่ยนสภาพการเคลื่อนที่ เปลี่ยนเป็นพลังงานรูปอื่น เปลี่ยนสถานะ เป็นต้น
พลังงานมีหลายชนิด เช่น พลังงานจลน์ พลังงานศักดิ์ พลังงานเคมี พลังงานความร้อน พลังงานเสียง พลังงานแสง พลังงานไฟฟ้า พลังงานนิวเคลียร์
แหล่งของพลังงานส่วนใหญ่มาจากพลังงานที่แผ่จากดวงอาทิตย์มายังโลก
ในการศึกษาวิชากลศาสตร์จะศึกษาพลังงาน 2 ประเภทคือ พลังงานจลน์ คือพลังานในวัตถุที่กำลังเคลื่อนที่หรือมีความเร็ว และพลังงานศักดิ์ คือพลังงานของวัตถุที่ขึ้นอยู่กับตำแหน่งหรือสภาวะของวัตถุ เช่นพลังงานของวัตถุเมื่อยู่ที่สูง
ผลรวมของพลังงานจลน์และพลังงานศักดิ์เรียกว่า พลังงานกล
พลังงานจลน์ (Kinetic Energy)
พลัลงานจลน์ เป็นพลังงานของวัตถุเนื่องจากการเคลื่อนที่ของวัตถุ ซึ่งเคลื่อนที่ทั้งแนวระดับและแนวดิ่ง อาทิเช่น พลังงานจลน์จากการสั่น จากการหมุน การเปลี่ยนตำแหน่ง ในบทนี้จะกล่าวถึงเฉพาะพลังงานจลน์จากการเปลี่ยนตำแหน่ง มีหน่วยเป็นจูล
พลังงานจลน์ของวัตถุขึ้นอยู่กับสองตัวแปร คือ มวล (M) และความเร็ว (V) ของวัตถุ การคำนวณหาพลังงานจลน์ของวัตถุนั้น หาได้จาก สมการการเคลื่อนที่ของวัตถุซึ่งเคลื่อนที่แบบมีความเร่ง โดยมีแรงภายนอกมากระทำกับวัตถุ
ตัวอย่าง กล่องมวล 0.6 กิโลกรัม วางอยู่บนพื้นซึ่งไร้แรงเสียดทาน เมื่อกล่องถูกแรงขนาดคงที่ 12 นิวตัน ดึงให้เคลื่อนที่ไปตามพื้นราบ จงหาพลังงานจลน์ของกล่อง เมื่อกล่องเคลื่อนที่ได้ 3 เมตร
แสดงความคิดเห็น