ทบทวนความรู้พลังงาน ม.5

พลังงาน

พลังงาน (Energy) เป็นสิ่งที่ไม่มีตัวตน ไม่มีน้ำหนัก จับต้องไม่ได้ มองไม่เห็น เป็นอำนาจที่แฝงอยู่ในวัตถุและสามารถทำงานได้

พลังงานเป็นปริมาณที่บอกถึง ความสามารถในการทำงาน มีหน่วยเป็น จูล และเป็นปริมาณสเกลาร์ พลังงานส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น เช่นเปลี่ยนสภาพการเคลื่อนที่ เปลี่ยนเป็นพลังงานรูปอื่น เปลี่ยนสถานะ เป็นต้น

พลังงานมีหลายชนิด เช่น พลังงานจลน์ พลังงานศักดิ์ พลังงานเคมี พลังงานความร้อน พลังงานเสียง พลังงานแสง พลังงานไฟฟ้า พลังงานนิวเคลียร์

แหล่งของพลังงานส่วนใหญ่มาจากพลังงานที่แผ่จากดวงอาทิตย์มายังโลก

ในการศึกษาวิชากลศาสตร์จะศึกษาพลังงาน 2 ประเภทคือ พลังงานจลน์ คือพลังานในวัตถุที่กำลังเคลื่อนที่หรือมีความเร็ว และพลังงานศักดิ์ คือพลังงานของวัตถุที่ขึ้นอยู่กับตำแหน่งหรือสภาวะของวัตถุ เช่นพลังงานของวัตถุเมื่อยู่ที่สูง

ผลรวมของพลังงานจลน์และพลังงานศักดิ์เรียกว่า พลังงานกล
พลังงานจลน์ (Kinetic Energy)

พลัลงานจลน์ เป็นพลังงานของวัตถุเนื่องจากการเคลื่อนที่ของวัตถุ ซึ่งเคลื่อนที่ทั้งแนวระดับและแนวดิ่ง อาทิเช่น พลังงานจลน์จากการสั่น จากการหมุน การเปลี่ยนตำแหน่ง ในบทนี้จะกล่าวถึงเฉพาะพลังงานจลน์จากการเปลี่ยนตำแหน่ง มีหน่วยเป็นจูล

พลังงานจลน์ของวัตถุขึ้นอยู่กับสองตัวแปร คือ มวล (M) และความเร็ว (V) ของวัตถุ การคำนวณหาพลังงานจลน์ของวัตถุนั้น หาได้จาก สมการการเคลื่อนที่ของวัตถุซึ่งเคลื่อนที่แบบมีความเร่ง โดยมีแรงภายนอกมากระทำกับวัตถุ


ตัวอย่าง กล่องมวล 0.6 กิโลกรัม วางอยู่บนพื้นซึ่งไร้แรงเสียดทาน เมื่อกล่องถูกแรงขนาดคงที่ 12 นิวตัน ดึงให้เคลื่อนที่ไปตามพื้นราบ จงหาพลังงานจลน์ของกล่อง เมื่อกล่องเคลื่อนที่ได้ 3 เมตร


แบบฝึกหัดพลังงาน คลิก

 

Post a Comment

أحدث أقدم