ที่ผู้เตรียมตัวสอบ ต้องทราบและควรทราบ คือ
คำมูล
คำประสม
คำซ้อน
คำซ้ำ
------------------------------------------------------------------
การสร้างคำในภาษาไทยมี 2 ลักษณะ คือ
1 คำมูล
2 การสร้างคำที่เกิดจากคำมูล ได้แก่ คำประสม คำซ้อน และ คำซ้ำ
วิเคราะห์ลักษณะของคำมูล
พ่อ แม่ พี่ น้อง ก๋วยจั๊บ ตำรวจ มะละกอ
ลักษณะของคำมูล ต้องรู้
คำดั้งเดิมของแต่ละภาษา อาจจะเป็นคำไทยแท้ หรือคำภาษาต่างประเทศ
* คำพยางค์เดียวเป็นคำมูลเสมอ
คำมูลหลายพยางค์เมื่อแยกคำแล้วไม่มีความหมาย
คำมูลแยกได้เป็นคำมูลพยางค์เดียวและคำมูลหลายพยางค์
ตัวอย่างคำมูลพยางค์เดียว
ไทยแท้ เช่น ลุง นก หนู
เขมร เช่น ทูล โปรด เพ็ญ แข
บาลี - สันสกฤต เช่น บาท หัตถ์ รัตน์ เพศ อาสน์
อังกฤษ เช่น โชว์ กราฟ แบงค์ บาร์
คำมูลหลายพยางค์ เป็นคำที่มีหลายพยางค์ แยกแล้วไม่มีความหมาย
* ถ้าคำที่แยกออกมาแล้วมีความหมาย ความหมายนี้ก็จะไม่ใกล้เคียงหรือเกี่ยวข้องกับคำเวลาที่รวมพยางค์
ตัวอย่างคำมูลหลายพยางค์
ไทยแท้ เช่น มะละกอ กระป๋อง บาดทะยัก
จีน เช่น กงเต๊ก ซูฮก
บาลี-สันสกฤต เช่น มัจฉา อักษร สุริยา เทวดา
คำประสม
คำมูล + คำมูล = คำประสม
เช่น
แม่ + ครัว = แม่ครัว
ข้อควรจำ : คำมูลทั้งสองคำเมื่อนำมาประสมกัน ความหมายจะแตกต่างกัน เมื่อประสมคำจะเป็นคำใหม่ เรียกสิ่งใหม่
ลักษณะของคำประสม
เกิดจากคำมูล 2 คำขึ้นไป รวมเป็น 1 คำ
คำมูลที่นำมาประสมกัน ความหมายแตกต่างกัน
เมื่อประสมคำแล้วจะเกิดคำความหมายใหม่ + เค้าความหมายเดิม
คำที่นำมารวมกัน จะเป็นคำไทยแท้ หรือคำภาษาต่างประเทศก็ได้ เช่น ผลไม้ ราชวัง เป็นต้น
คำประสมประกอบด้วยคำชนิดใดก็ได้
คำนาม + คำนาม เช่น น้ำปลา
คำนาม + คำกริยา เช่น กล้วยปิ้ง
คำนาม + คำวิเศษณ์ เช่น น้ำหวาน
คำกริยา + คำกริยา เช่น บุกเบิก
ลักษณะของคำประสม (ต่อ)
เกิดจากคำประกอบหลัก และคำส่วนขยาย คือคำหลักอยู่ด้านหน้าและคำขยายอยู่ด้านหลัง เช่น
โรง + เรียน = โรงเรียน
เรือ + ด่วน = เรือด่วน
ม้า + น้ำ = ม้าน้ำ
ส้ม + เขียวหวาน = ส้มเขียวหวาน
เครื่อง + ซัก + ผ้า = เครื่องซักผ้า
إرسال تعليق